การตรวจสมถรรภาพการทำงานของปอด
การตรวจสมรรถภาพทางปอด เป็นการตรวจที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งในกระบวนการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามผลการรักษาโรคระบบการหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดจากการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพปอด ยังสามารถบ่งถึงการเสื่อมของการทำงานของปอด ก่อนที่อาการแสดงทางคลินิกจะเริ่มปรากฏ เนื่องจาก ปอดเป็นอวัยวะที่มีความสามารถสำรองสูง อาการเหนื่อยจึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพ ในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว
การตรวจสมรรถภาพทางปอด เป็นการทดสอบ การหายใจ โดยใช้เครื่่อมือที่เรียกว่า สไปโรมิเตรอร์ (Spirometer) ซึ่งจะวัดปริมาตรอากาศเข้าและออกจากปอด สามารถบันทึกเป็นกราฟ (Spirogram) แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและเวลา
ข้อห้ามในการทำสไปโรเมตรีย์
- ไอเป็นเลือด
- ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับ การรักษา
- ระบบหลอดเลือดหรือ หัวใจทำงานไม่คงที่ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการ รักษาหรือควบคุมได้ไม่ดี ,
ความดันโลหิตต่ำ - เส้นเลือดแดงโป่งในทรวงอก ท้อง หรือ สมอง
- เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก
- เพิ่งได้รับการผ่าตัดช่องอก หรือ ช่องท้อง
- ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดเชื้อ ไข้หวัด
- สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
- ผู้ที่อาการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อการ ทดสอบสไปโรเมตรีย์ เช่น คลื่นไส้ หรือ อาเจียนมาก