Clinic Check up
ตรวจรักษาทั่วไปในคลินิก
- Annual Health Check up
- Pre – Employment Examination
- Risk Factor (occupational) : workplace safety
- Foreign Worker Health Check up (work permit)
- Public Servant Health Check up
- Pre – Marital
- Pre – Pregnancy
1. Pre – Employment Examination (ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน)
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าเรียนและก่อนเข้างาน คือ การเตรียมตัวความพร้อมในด้านสุขภาพกายในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเข้าทำงาน
หรือการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย การตรวจสุขภาพจึงมีความจำเป็นเพื่อการันตีความพร้อมในการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ โดยพื้นฐานทั่วไปมักตรวจอยู่ที่ประมาณ 7 รายการ
ได้แก่ ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจหาหมู่เลือด ตรวจตาบอดสี ตรวจความสมบูรณ์ของปัสสาวะ ตรวจการทำงานของตับ
ตรวจการทำงานของไต เป็นต้น
ทำไมต้องตรวจสุขภาพ
การเข้าทำงาน หรือการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยนั้นมีความสำคัญไม่ใช่แค่ต่อตัวเราเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาโดยตรงด้วย
เพราะการที่มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานรับบุคคลเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้นจำเป็นต้องมั่นใจว่าบุคลากร หรือนักศึกษาที่เข้ามาใหม่จะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
พร้อมที่จะเรียนรู้ และสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กรนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นองค์กร หรือสถานศึกษาต่าง ๆ จึงต้องมีการให้บุคลากร หรือนักศึกษาตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าองค์กรหนึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะเป็นกฎระเบียบพื้นฐานขององค์กรโดยทั่วไปอยู่แล้ว
ไม่เพียงแต่เท่านั้น การตรวจสุขภาพยังมีความสำคัญต่อทุกคน เนื่องจากยังมีอีกหลายคนที่ในช่วงชีวิตหนึ่งไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ตรวจสุขภาพมากพอ
ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน หรือก่อนเข้ามหาวิทยาลัยจึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อตรวจหาโรคที่อาจซ่อนอยู่ในร่างกาย
และทำให้เรารู้จักร่างกายของตนเองมากยิ่งขึ้น
2. Risk Factor (Occupational) : Workplace Safety (ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของงาน)
การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงควรตรวจก่อนเข้ารับทำงาน ขณะทำงาน และก่อนเปลี่ยนงานในแผนก ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง พยาบาลอาชีวอนามัย
จะต้องมีบทบาทในการประเมิน เฝ้าควบคุมและเฝ้าระวังสุขภาพ และ ความปลอดภัยของ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องพิจารณาและตัดสินใจในการจัดบริการ
ให้ตรงกับความต้องการด้าน สุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริง โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน ต้องมีการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงดังนี้
- การตรวจสมรรถภาพปอด บุคลากรที่ทำงานในที่มีฝุ่น เกี่ยวข้องกับสารเคมี ไอระเหยของสารต่าง ๆ
- การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน สำหรับผู้ที่ทำงานในที่มีเสียงดัง
- การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น สำหรับผู้ที่ทำงานใช้สายตานาน ๆ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
- การตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ บุคลากรที่ทำงานสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งต่าง ๆ
- การตรวจ nasal swab C/S เมื่อ มีการระบาด MRSA ของหน่วยงานที่เสี่ยง
- การตรวจ rectal swab C/S บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร เช่น โภชนาการ คาเฟทีเรีย
- การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ โภชนาการ คาเฟทีเรีย บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
- การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและให้วัคซีน บุคลากรที่ทำงานสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งต่าง ๆ
3. Foreign Worker Health Check up (work permit) (ตรวจสุขภาพต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว)
ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวใบรับรองแพทย์ต้องระบุตรวจผ่านให้ครบทั้ง 6 โรค
- โรคเรื้อน
- วัณโรค ระยะอันตราย
- โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคติดยาเสพติด
- โรคเท้าช้าง
- การตั้งครรภ์ *เฉพาะผู้หญิง*
เฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาหลังวันที่
25 มกราคม 2564
ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2564
การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
เพื่อต่อวีซ่า
ต่อใบอนุญาตทำงาน ทุกประเภท
นอกจากการตรวจโรคสำคัญ 6 โรคเดิมแล้ว
ต้องมีผลการตรวจโควิด-19 ด้วย
4. Public Servant Health Check up (ตรวจสุขภาพข้าราชการ)
การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการส่งเสริมป้องกันโรค มิใช่การรักษาพยาบาล ซึ่งตามกฎหมาย เดิมได้กำหนดยกเว้นเป็นกรณีพิเศษให้เฉพาะผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ) สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ปีละ 1 ครั้ง ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด ซึ่งแบ่งการตรวจเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ผู้มีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ ตรวจได้ 7 รายการ และผู้มี อายุมากกว่า 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ตรวจได้ 16 รายการ โดยมีสิทธิเบิกปีละ 1 ครั้ง ตามปีงบประมาณ แต่สามารถยื่นเบิกได้ตามปีปฏิทิน (1 ปี) นับถัดจากวันที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน และบุคคลในครอบครัว ของผู้มีสิทธิไม่สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ (พระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา 18)
สิทธิประโยชน์ในปัจจุบันด้านการตรวจสุขภาพประจำปี ประกอบด้วย
1. ตรวจได้เฉพาะผู้มีสิทธิ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ไม่รวมถึงบุคคลในครอบครัว
2. แบ่งชุดการตรวจเป็น 2 กลุ่ม คือ อายุต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ เบิกได้ 7 รายการ และอายุตั้งแต่ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เบิกได้ 16 รายการ
3. การตรวจให้ตรวจได้ปีละ 1 ครั้ง (ตามปีงบประมาณ)
4. การเบิก เบิกได้ตามรายการ และอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด
5. ให้ผู้มีสิทธิสำรองจ่ายไปก่อน และนำใบเสร็จมาเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด (ห้ามจ่ายตรง)
6. ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0422.2/ว 362 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ค่า Chest X-ray ค่าเอกซเรย์ปอดมีการนำระบบดิจิทัล จึงยกเลิกหลักเกณฑ์เบิกเดิม (170+50) และกำหนดให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 170 บาท โดยไม่ต้องระบุรหัส ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
5. Pre – Marital (ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน) , Pre-Pregnancy (ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร)
“การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน” เป็นการเช็คความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกายหรือมีความบกพร่องทางพันธุกรรม จะได้วางแผนการรักษา
และหาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับบุตรได้ถูกทาง การมีครอบครัวที่สมบูรณ์ มีพ่อ แม่ ลูก คือความฝันของคู่รักแทบทุกคู่
คู่รักส่วนหนึ่งจึงมักวางแผนที่จะมีบุตรทันทีหลังแต่งงาน แต่การจะมีบุตรสักคนนั้นใคร ๆ ก็ต้องการให้บุตรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในเรื่องสุขภาพของคู่สามีภรรยาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
“การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน” เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญสำหรับคู่รัก เพราะเป็นการเช็คความพร้อมและความสมบูรณ์ของร่างกายในการมีเพศสัมพันธ์ การเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร
เพราะหากสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีความบกพร่องทางพันธุกรรม จะได้วางแผนการรักษา หรือหาแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับบุตรได้ถูกทาง
ไม่ใช่แค่การตรวจสุขภาพทั่วไป แต่สามารถตรวจลึกได้ถึงระดับพันธุกรรม
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน นอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายจากโรคที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิต หัดเยอรมัน
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ถึงระดับดีเอ็นเอหรือยีน ทำให้รู้ได้ว่าหญิงหรือชายที่เป็นคู่สมรสกันนั้นมียีนที่เป็นพาหะของโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่
หากพบก็จะได้ให้คำปรึกษาก่อนตัดสินใจแต่งงานหรือก่อนมีบุตร หรือหากพบว่าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนก็จะได้ทำการฉีดวัคซีนก่อน เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น
ส่วนในกรณีที่พบว่ามียีนผิดปกติที่ไม่สามารถป้องกันได้ หรือโอกาสที่ลูกจะเกิดมามีภาวะผิดปกติมีมาก แพทย์อาจจะแนะนำให้แต่งงานกันได้โดยไม่ต้องมีบุตร หรือหากตั้งครรภ์ก็จะได้ตรวจความสมบูรณ์ของบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โรคอะไรบ้างที่สามารถแพร่ไปสู่ลูกหรือคู่รักของคุณได้
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ (HIV) , ซิฟิลิส (Syphilis)
- ไวรัสตับอักเสบ บี (อาจแพร่เชื้อไปยังคู่สมรส หรือลูกน้อยในครรภ์)
- โรคโลหิตจาง หรือธาลัสซีเมีย
- หัดเยอรมัน ลูกน้อยสามารถติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ และมีโอกาสสูงมากที่จะคลอดออกมาพร้อมความผิดปกติ